ตำบลระบำ อำเภอลานสัก

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

นิเทศบ้านหนังสืออัจฉริยะ

กศน. ตำบลระบำจำนวน 10 หมู่บ้าน

 หมู่ 13 บ้านยางงาม

หมู่ 5 บ้านเพชรเจริญ





วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติความเป็นมา กศน. ตำบลระบำ


ประวัติความเป็นมาของ กศน.ตำบล
เดิม กศน. ตำบลระบำ เมื่อปี 2546 ได้จัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนชุมชน โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แต่งตั้ง โดยมีนายสาธิต ศิริเขตรกิจ เป็นครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน โดยใช้ห้องประชุมสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นสถานที่ในการพบกลุ่ม และเมื่อปี 2553 ได้ประกาศจัดตั้งเป็น กศน.ตำบลระบำ และ โดยคำสั่งของสำนักงาน กศน. โดยมี ศูนย์การเรียนชุมชนในสังกัด กศน.ตำบลระบำ อีกสองแห่งคือ    ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านโป่งสามสิบ และ ศูนย์การเรียนชุมชนบ้านห้วยรัง โดยมีผู้รับผิดชอบคือ  นายสมโภชน์  คงคา ตำแหน่งครูอาสาสมัคร กศน. และ นางพัสสรณ์สิริ  สุขเสงี่ยม ตำแหน่ง ครู กศน.ตำบล

บุคลากร กศน. ตำบลระบำ
นายสาธิต ศิริเขตรกิจ
 ครู กศน.ตำบล ประจำ กศน. ตำบลระบำ

 นายสมโภชน์  คงคา 
ครูอาสาสมัคร กศน.  ประจำศูนย์การเรียนชุมชนบ้านโป่งสามสิบ


นางพัสสรณ์สิริ  สุขเสงี่ยม 
ครู กศน.ตำบล ประจำศูนย์การเรียนชุมชนบ้านห้วยรัง

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ทฤษฎีการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่

“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข” 

เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา 

ทฤษฎีการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่ 

..... ทฤษฎีการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่นั้น กล่าวได้ว่าเริ่มมีการศึกษาค้นคว้าและพัฒนาการมากจาก แนวความคิดของเดิม ของ ธอร์นไดค์ (Edward L. Thorndike. 1982) จากการเขียนเกี่ยวกับ"การเรียนรู้ของผู้ใหญ่" ซึ่งมิได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่โดยตรง แต่ศึกษาถึง ความสามารถในการเรียนรู้ โดยเน้นให้เห็นว่าผู้ใหญ่นั้นสามารถเรียนรู้ ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก

จากสงครามโลกครั้งที่สองมีนักการศึกษาผู้ใหญ่จำนวนมาก ได้ศึกษาค้นคว้าจนได้ พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นอีกว่า ผู้ใหญ่สามารถเรียนรู้ได้

รวมทั้งยังได้พบว่ากระบวนการเกี่ยวกับด้านความสนใจ และความสามารถนั้นแตกต่างออกไปจากการเรียนรู้ ของเด็กเป็นอันมาก
นอกจากวิธีการทางวิทยาศาสตร์แล้ว ยังมีแนวความคิดทางด้านที่เป็นศิลป์ ในการเรียนรู้ ซึ่งเป็นการค้นหาวิธีการในการรับความรู้ใหม่ๆ และการวิเคราะห์ถึงความสำคัญของประสบการณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับว่า "ผู้ใหญ่เรียนรู้อย่างไร" (How Adult Learn) ลินเดอร์แมน (Edward C. Linderman) โดยได้เขียนหนังสือชื่อ "ความหมายของการศึกษาผู้ใหญ่" 

แนวความคิดของลินเดอร์แมนนั้นได้รับอิทธิพลค่อนข้างมากจากนักปรัชญาการ ศึกษา ผู้ที่มีชื่อเสียง คือ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey) โดยได้เน้นอย่างมากเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่นั้น ควรเริ่มต้น จากสถานการณ์ต่างๆ (Situations) มากกว่าเริมจากเนื้อหาวิชา ซึ่งวิธีการเรียนการสอนโดยทั่วๆ ไป มักจะเริ่มต้นจากครูและเนื้อหาวิชาเป็นอันดับแรก และมองดูผู้เรียนเป็นส่วนที่สอง 

ในการเรียนแบบเดิมนั้น ผู้เรียนจะต้องปรับตัวเองให้เข้ากับหลักสูตร แต่ว่าในการศึกษาผู้ใหญ่นั้น หลักสูตรควรจะได้สร้างขึ้นมาจากความสนใจ และความต้องการของผู้เรียนเป็นหลักสำคัญ ผู้เรียนจะพบว่าตัวเองมีสถานการณ์เฉพาะ อันเกี่ยวกับหน้าที่การงาน งานอดิเรก หรือ สันทนาการ ชีวิตครอบครัว ชีวิตในชุมชน สถานการณ์ต่างๆ นี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้ปรับตัวและการศึกษาผู้ใหญ่ควรเริ่มจากจุดนี้ ส่วนด้านตำราและผู้สอนนั้นถือว่ามีหน้าที่และบทบาทรองลงไป

แหล่งความรู้ที่มีคุณค่าสูงสุดในการศึกษาผู้ใหญ่คือ ประสบการณ์ของผู้เรียนเอง และมีข้อคิดที่สำคัญว่า "ถ้าหากการศึกษาคือชีวิตแล้ว ชีวิตก็คือการศึกษา" (If Education is Life, then Life is Education) และก็สรุปได้ว่า ประสบการณ์นั้นคือตำราที่มีชีวิตจิตใจสำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่


จากแนวความคิดของลินเดอร์แมน ทำให้ได้ข้อสันนิษฐานที่สำคัญๆ และเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ รวมทั้งการวิจัยในระยะต่อๆ มา ทำให้โนลส์ (M.S.Knowles.1954) ได้พยายามสรุปเป็นพื้นฐานของทฤษฎีการเรียนรู้สำหรับผู้ใหญ่สมัยใหมซึ่งมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1. ความต้องการและความสนใจ 
ผู้ใหญ่จะถูกชักจูงให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี ถ้าหากว่าตรงกับความต้องการ และความสนใจ ในประสบการณ์ที่ผ่านมา เขาก็จะเกิดความพึงพอใจ เพราะฉะนั้นควรจะมีการเริ่มต้นในสิ่งเหล่านี้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะการจัดกิจกรรมทั้งหลาย เพื่อให้ผู้ใหญ่เกิดการเรียนรู้นั้นจะต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ด้วยเสมอ

2. สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้ใหญ่ 
การเรียนรู้ของผู้ใหญ่จะได้ผลดี ถ้าหากถือเอาตัวผู้ใหญ่เป็นศูนย์กลาง ในการเรียนการสอน ดังนั้นการจัดหน่วยการเรียนที่เหมาะสมเพื่อการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ควรจะยึดถือสถานการณ์ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้ใหญ่เป็นหลักสำคัญ มิใช่ตัวเนื้อหาวิชาทั้งหลาย

3. การวิเคราะห์ประสบการณ์ 
เนื่องจากประสบการณ์เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีคุณค่ามากที่สุดสำหรับผู้ใหญ่ ดังนั้นวิธีการหลักสำหรับการศึกษาผู้ใหญ่ ก็คือการวิเคราะห์ถึงประสบการณ์ของผู้ใหญ่แต่ละคนอย่างละเอียด ว่ามีส่วนไหนของประสบการณ์ที่จะนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้บ้าง แล้วจึงหาทางนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป

4. ผู้ใหญ่ต้องการเป็นผู้นำตนเอง 
ความต้องการที่อยู่ในส่วนลึกของผู้ใหญ่ก็คือ การมีความรู้สึกต้องการที่จะสามารถนำตนเองได้ เพราะฉะนั้นบทบาทของครูจึงควรอยู่ในกระบวนการสืบหา หรือค้นหาคำตอบร่วมกับผู้เรียนมากกว่าการทำหน้าที่ส่งผ่านหรือเป็นสื่อสำหรับความรู้ แล้วทำหน้าที่ประเมินผลว่าเขาคล้อยตามหรือไม่เพียงเท่านั้น

5. ความแตกต่างระหว่างบุคคล
ความแตกต่างระหว่างบุคคลจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละบุคคล เมื่อมีอายุเพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นการสอนผู้ใหญ่จะต้องจัดเตรียมการในด้านนี้อย่างดีพอ เช่น รูปแบบของการเรียนการสอน เวลาที่ใช้ทำการสอน สถานที่สอน 

Malcolm Shepherd Knowles (1913 - 1997)

วิธีการสอนผู้ใหญ่ (Andragogy) 
วิธีการสอนผู้ใหญ่หรือ"Andragogy" นั้นเป็นแนวความคิดใหม่ในการเรียนการสอน ที่พยายามจะชี้ให้เห็นความแตกต่างออกไปจากวิธีการสอนเด็ก อย่างไรก็ตาม คำว่า "Andragogy" นี้เป็นคำที่ใหม่ในวงการศึกษาเมืองไทยเรา เพราะว่าคำนี้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1967 โดยการให้ความหมายเดิมจากนักการศึกษาผู้ใหญ่ชาวยูโกสลาเวียนชื่อ "ซาวิสวิค" (Dusan Savicevic) ส่วนผู้ที่นำเข้ามาสู่วงการศึกษาผู้ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาก็คือ โนลส์ (M.S.Knowles. 1954) โดยการตีพิมพ์ลงในหนังสือชื่อ "Adult Leadership" เมื่อปี ค.ศ.1968 และคำนี้ก็ได้รับความนิยมกันมากขึ้นเรื่อยๆ ในบรรดาสถาบันการศึกษาผู้ใหญ่ทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกามากมายหลายแห่งด้วยกัน

ข้อตกลงเบื้องต้นสำหรับการสอนผู้ใหญ่ 
ตามทฤษฏีการสอนผู้ใหญ่นั้น มีอยู่ 4 ประเด็นใหญ่ๆ ที่มีความสำคัญ และเป็นความเชื่อที่ได้รับการยอมรับว่าแตกต่างออกไปจากการสอนเด็ก ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไป
1. การเปลี่ยนแปลงด้านมโนภาพแห่งตน ข้อสันนิษฐานนี้คือ บุคคลเจริญเติบโตและบรรลุวุฒิภาวะไปสู่มโนภาพแห่งตนจากการอาศัยหรือพึ่งพาบุคคลอื่นๆ ในวัยเด็กทารก และนำไปสู่การเป็นผู้นำตัวเองได้มากขึ้น ทฤษฏีการสอนผู้ใหญ่ คาดว่าจุดที่บุคคลบรรลุความสำเร็จในด้านมโนภาพแห่งตนในทางการเป็นผู้นำตนเอง ก็คือลักษณะทางจิตวิทยาของการเป็นผู้ใหญ่ ถ้าหากเขาเกิดความรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับการยอมรับในสถานการณ์ต่างๆ เลย เขาอาจจะเกิดความเคร่งเครียดและอาจจะต่อต้านและสิ่งที่สำคัญก็คือ ต้องพยายามทำให้ผู้ใหญ่เกิด "Self - directing" ในการเรียนการสอนให้มากที่สุดด้วย
2. บทบาทของประสบการณ์ ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับประสบการณ์ เชื่อว่าบุคคลที่เริ่มบรรลุวุฒิภาวะเขาก็จะได้สะสมประสบการณ์ที่กว้างขวางมากขึ้น ซึ่งประสบการณ์นั้นนับว่าเป็นแหล่งที่มีคุณค่าสูงยิ่งสำหรับการเรียนรู้ รวมทั้งเป็นการช่วยขยายโลกทัศน์ของผู้ใหญ่คนอื่นๆ ให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น เพื่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทั้งหลายด้วย

3. ความพร้อมในการเรียน คือ บุคคลจะมีวุฒิภาวะและเกิดความพร้อมในการเรียนรู้อันเป็นผลมาจากการพัฒนาทางชีววิทยา และแรงกดดันทางด้านความต้องการเกี่ยวกับวิชาการ ส่วนที่เกิดความพร้อมมากขึ้นก็คือ ผลพัฒนาของภาระหน้าที่ ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับบทบาททางสังคมความแตกต่างกัน ในการสอนผู้ใหญ่นั้นผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้ถ้าหากเขาเกิดความต้องการ ในการสร้างให้เกิดความพร้อมนั้น นอกจากจะดูพัฒนาด้านความพร้อม แล้วยังมีวิธีการกระตุ้นในรูปแบบของการกระทำได้ อาจจะในลักษณะของความมุ่งหวังในระดับสูง และกระบวนการวินิจฉัยในตัวเอง อย่างที่แมคคลีแลนด์ (David Mc. Clellend. 1980) ได้พัฒนายุทธศาสตร์ที่ได้ประสบผลสำเร็จอย่างสูงสำหรับการช่วยให้ผู้ใหญ่พัฒนาตัวเอง ซึ่งเขาเรียกว่า "แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์" 

4. การส่งเสริมให้การเรียนรู้มีความเหมาะสม ผู้ใหญ่ส่วนมากมักจะมีการเรียนรู้โดยอาศัยปัญหาเป็นศูนย์กลาง ความแตกต่างที่เห็นได้นี้ เป็นผลลัพธ์มาจากความแตกต่างของการเห็นคุณค่าของเวลานั่นเอง 
ผู้ใหญ่เข้ามาเรียนและยุ่งเกี่ยวกับกิจกรรมทางการศึกษา ก็เพราะว่าเขาขาดความรู้และประสบการณ์ในการแก้ไขปัญหาปัจจุบัน ดังนั้นเขาจึงต้องการที่จะนำไปใช้ในอนาคตอันใกล้หรือโดยเร็วที่สุด ที่สามารถนำไปใช้ได้ทันทีทันใด ดังนั้นเขาจึงต้องการได้รับการเรียนรู้โดยอาศัยปัญหาเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน

แนวคิดในการสอนผู้ใหญ่

คาร์ล โรเจอร์ ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาในกลุ่มมนุษยนิยม ได้ให้แนวทางความคิดเกี่ยวกับการสอนว่า ผู้ใหญ่ โดยให้ความสำคัญกับบทบาทของครูที่สอนผู้ใหญ่ว่า ควรจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกเพื่อการเรียนรู้ นอกจากนั้นได้กล่าวถึงบทบาทและความสัมพันธ์ระหว่างผู้อำนวยความสะดวกกับผู้เรียนว่า ขึ้นอยู่กับทัศนคติของผู้อำนวยความสะดวกรวม 3 ประการที่เป็นคุณสมบัติสำคัญ คือ
  1. การให้ความไว้วางใจ และความนับถือยกย่องแก่ผู้เรียน
  2. การมีความจริงใจต่อผู้เรียน
  3. การมีความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจ รวมทั้งการตั้งใจฟังผู้เรียนพูด

นอกจากทัศนคติ 3 ประการที่กล่าวมานี้แล้วโรเจอร์ยังได้ชี้ให้เห็นแนวทาง เพื่อการอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้รวมทั้งสิ้นอีก 10 ประการ ดังนี้

  1. ต้องเริ่มต้นในการสร้างบรรยากาศภายในกลุ่มเพื่อให้เกิดประสบการณ์ที่ดีในชั้นเรียน
  2. ควรช่วยให้เกิดจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน ของแต่ละบุคคลในชั้นเรียน รวมทั้งจุดมุ่งหมายของกลุ่มด้วย
  3. ควรจะดำเนินการเรียนการสอนไปตามความต้องการของผู้เรียนแต่ละคน เพราะว่ามีความหมายสำหรับนักศึกษาอย่างมาก และถือว่าเป็นพลังจูงใจที่จะก่อให้เกิดผลสำเร็จทางการเรียนอันสำคัญยิ่ง
  4. จะต้องพยายามจัดการเกี่ยวกับแหล่งการเรียนรู้ (Resource for Learning) ให้เป็นไปได้อย่างกว้างขวางและแลดูเป็นเรื่องง่ายๆ สำหรับผู้เรียนด้วย
  5. ควรจะต้องมีความเข้าใจตนเองในฐานะเป็น "แหล่งความรู้ที่มีความคล่องตัวและยืดหยุ่นได้" ในการที่สมาชิกในกลุ่มอาจจะสามารถนำมาใช้ให้เกิดคุณประโยชน์ต่อการเรียนรู้
  6. ในการแสดงออกต่อสมาชิกในกลุ่มผู้เรียน เขาจะต้องยอมรับทั้งทางด้านเนื้อหาวิชาการและด้านทัศนคติหรืออารมณ์ของผู้เรียน คือพยายามที่จะก่อให้เกิดความพอดีกันทั้งสองด้าน สำหรับสมาชิกแต่ละคนและรวมทั้งกลุ่ม
  7. เพื่อที่จะให้บรรยากาศในห้องเรียนดำเนินไปด้วยดี ผู้อำนวยความสะดวกสามารถช่วยให้เกิดขึ้นได้ ด้วยการเปลี่ยนฐานะตนเองเป็นเสมือนหนึ่งผู้เรียน เช่น มีฐานะเป็นสมาชิกของกลุ่มโดยการร่วมแสดงความคิดเห็นได้เช่นเดียวกับผู้เรียนแต่ละคน
  8. ควรจะได้เริ่มต้นแสดงความรู้สึก ให้เกิดขึ้นในกลุ่มเมื่อมีความคิดเห็น แต่ไม่ใช่โดยการบังคับหรือวิธีการข่มขู่ ซึ่งความคิดที่แสดงออกมานั้นสมาชิกอื่นๆ อาจจะยอมรับฟังหรือไม่รับฟังก็ได้
  9. ตลอดเวลาของการมีประสบการณ์ร่วมกันในห้องเรียน ผู้อำนวยความสะดวกจะต้องมีความว่องไวอยู่ตลอดเวลา ในการแสดงออกเพื่อการรับรู้อารมณ์ต่างๆ อย่างลึกซึ้ง
  10. และจะต้องพยายามรับรู้และยอมรับว่าตัวเองก็ย่อมจะมีข้อจำกัดอยู่หลายประการด้วยกัน

เทคนิคในการสอนผู้ใหญ่
ในการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ โนลส์ (M.S.Knowles.1954) ได้เขียนไว้ในหนังสือชื่อ "Infotmal Adult Education" ผู้ใหญ่จะเรียนรู้ได้ดี มี 12 ประการ ดังนี้

1. มีความเข้าใจและเห็นด้วยกับจุดมุ่งหายของวิชาที่เรียน นั่นคือถ้าต้องการให้ผู้ใหญ่เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว เขาควรจะได้ทราบถึงจุดมุ่งหมายทั่วไปของวิชานั้น โดยที่เขาต้องมองเห็นภาพโดยส่วนรวมได้อย่างชัดเจน และทิศทางที่จะดำเนินไปในการเรียนรู้ ดังนั้น จึงมีความสำคัญในการอธิบายถึงรายละเอียดของวิชา เป้าหมายที่แจ่มชัดให้ผู้เรียนได้รับทราบในการพับกันครั้งแรก
นอกจากนั้น ถ้าหากว่าผู้เรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้อยู่แล้ว เขาก็จะมีส่วนในการตั้งเป้าหมายเฉพาะของการเรียนวิชานั้น ๆ ผู้เรียนย่อมจะเกิดความมั่นว่าการสอนเป็นไปในทิศทางที่เขาต้องการทราบ การอภิปรายปัญหาทั้งหลายในตอนต้นวิชาจะช่วยให้แลเห็นเป้าหมายเฉพาะเจาะจง และมีความหมายต่อผู้เรียนมากยิ่งขึ้นด้วย

2. มีความต้องการที่จะเรียนรู้ นักการศึกษาผู้ใหญ่มักจะคาดคะเนว่า ผู้เรียนส่วนมากมาเข้าเรียนด้วยความต้องการที่จะเรียน เนื่องจากว่าโดยทั่วๆ ไปแล้วเขามักจะเข้ามาด้วยความสมัครใจ อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งครูที่สอนผู้ใหญ่ก็อาจจะต้องเผชิญกับการให้กำลังใจ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดความต้องการเรียนด้วย ความต้องการนี้ต้องเกิดจากความรู้สึกว่า ตัวเองมีความสามารถที่จะบรรลุความสำเร็จได้ โดยการได้รับความเห็นใจและเข้าใจจากครูผู้สอน

3. บรรยากาศในการเรียนการสอนและสถานการณ์ของการเรียนรู้ควรเป็นกันเอง เนื่องจากการมีปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในกลุ่ม เป็นแหล่งของการเรียนรู้ที่มีความสำคัญยิ่ง ผู้สอนควรมีความรับผิดชอบในการสร้างบรรยากาศ และอำนวยความสะดวกสำหรับอภิปรายในกลุ่ม ทัศนคติ การยอมรับ และความเคารพยกย่อง จะเป็นบุคลิกภาพที่สำคัญของครูผู้สอนในการสร้างบรรยากาศความเป็นกันเอง นอกจากนั้นแล้ว ครูผู้สอนสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดความคุ้นเคยกันได้ โดยการให้ผู้เรียนแนะนำตัวกันเอง และให้อธิบายรายละเอียดย่อๆ เกี่ยวกับประสบการณ์และความสนใจ ถ้าหากผู้สอนแสดงบทบาทของตัวเองในฐานะผู้เรียนมากกว่าความเป็นผู้สอนแล้ว เขาย่อมจะได้รับความสำเร็จมากยิ่งขึ้น

4. สภาพการณ์ทางกายภาพทั่วๆ ไป ควรเป็นที่พึงพอใจสำหรับผู้เรียนได้แก่การจัดโต๊ะ เก้าอี้ และเครื่องมือเครื่องใช้ ควรจะได้รับการพิจารณาเพื่อให้ผู้เรียนได้รับความสุขสบายตามที่ ผู้เรียนต้องการมีความสัมพันธ์กับสมาชิกคนอื่นๆ ในกลุ่ม ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการให้สมาชิกได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันโดยเสรีแล้ว ผู้เรียนควรหันหน้าเขาหากันเพื่อจะได้อภิปรายอย่างเต็มที่

5. ผู้เรียนควรจะได้มีส่วนร่วมในการเรียน และความรับผิดชอบต่อกระบวนการเรียนรู้เพราะว่าวิธีการที่ดีที่สุดในการเรียนรู้คือการกระทำ ถ้าหากผู้เรียนได้กระทำบางอย่างหรือพูดแสดงความคิดเห็นบางอย่าง ก็ย่อมจะดีกว่าการที่เพียงแต่นั่งเฝ้ามองดูคนอื่นๆ หรือนั่งฟังคนอื่นๆ พูดเฉยๆ เท่านั้น โดยทั่วไปนั้นผู้เรียนที่กระตือรือร้นและมีชีวิตชีวาจะเรียนรู้ได้มากกว่าผู้เรียนจะเรียนได้มากขึ้น ถ้าหากเขารู้สึกว่าตัวเขาต้องมีความรับผิดชอบต่อกระบวนการภายในกลุ่มด้วยเหตุนี้ ผู้สอนที่ฉลาดควรจะใช้วิธีการหลายๆ ด้านเกี่ยวกับกิจกรรมกลุ่ม กลุ่มที่สามารถจัดดำเนินการได้ด้วยตัวเอง จะได้รับประสบการณ์ในการเรียนรู้มากกว่ากลุ่มที่ต้องอาศัยครูผู้สอน

6. การเรียนรู้ควรจะสัมพันธ์เกี่ยวข้อง และใช้ประสบการณ์ของผู้เรียนให้เป็นประโยชน์ในการเสนอแนวความคิดและความรู้นั้น ถ้าหากมีความหมายต่อผู้เรียนแล้ว ผู้สอนควรจะได้ปรับให้เข้ากับประการณ์ของผู้เรียนทั้งหลายด้วย ผู้ใหญ่โดยทั่วๆ ไปนั้น เรียนโดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ใหม่กับประสบการณ์เดิม หรือด้วยการโยงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่ยังไม่รู้ไปหาสิ่งที่รู้แล้ว นอกจากนั้น ประสบการณ์ของผู้เรียนที่เสนอต่อชั้นเรียน นับว่าเป็นแหล่งของความรู้ที่มีคุณค่ามาก สมาชิกของชั้นเรียนผู้ใหญ่นั้นมักจะมีประสบการณืที่มีคุณค่าแตกต่างกันออกไป ที่จะทำให้ทุกๆ คนได้รับประโยชน์ร่วมกันด้วย

7. ครูผู้สอนควรจะรู้เนื้อหาวิชาที่ตนสอนเป็นอย่างดี ถ้าหากครูจะช่วยแนะนำแนวการเรียนการสอนให้ได้ผลดี เขาจะต้องมีความรู้ในวิชาที่สอนอย่างเชี่ยวชาญ ต้องรู้ถึงเอกสารและตำราทางวิชาการในสาชานั้นอย่างดี เพื่อจะได้ช่วยแนะนำแหล่งความรู้ให้แก่ผู้เรียนที่จะได้ค้นคว้าต่อไป รวมทั้งจะได้จัดการเรียนการสอนให้ดำเนินไปอย่างเหมาะสมด้วย

8. ผู้สอนควรจะมีความกระตือรือร้นเกี่ยวกับวิชาที่สอน และการสอนวิชานั้นๆ ด้วยโดยที่ความกระตือรือร้นนั้นสามารถถ่ายทอดไปยังผู้เรียนได้อีกด้วย ครูที่แสดงให้เห็นชัดเจนว่า ตัวเองมีความกระตือรือร้นและพึงพอใจในการสอน จะมีผลทำให้นักเรียนเป็นผู้กระตือรือร้นและเอาใจใส่ในการเรียนด้วย ความกระตือรือร้นนั้นนับว่าเป็นแรงจูงใจสำคัญที่ดีที่สุดสำหรับการเรียนรู้

9. ผู้เรียนควรได้เรียนรู้ไปตามระดับความสามารถของตนเนื่องจากในชั้นเรียนของผู้ใหญ่นั้น มีความแตกต่างในด้านของประสบการณ์ศึกษาความถนัดทางด้านการเรียน ความสนใจและความสามรถอย่างมากมาย ดังนั้นการจัดการเรียนการสอน จึงควรจะได้คิดถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในแง่ต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว สำหรับผู้เรียนที่เรียนได้เร็วก็อาจจะกระตุ้นให้เรียนด้วยความก้าวหน้า เช่น ให้เรียนโดยโครงการเฉพาะตัว ส่วนผู้ที่เรียนช้าก็ควรได้รับความมั่นใจว่า การเรียนของผู้ใหญ่ไม่ใช่การเรียนเพื่อแข่งขันกันกับคนอื่นๆ แต่ว่าเป็นการพัฒนาเพื่อความก้าวหน้าของตัวเขาเอง

10. วิธีการสอนที่ใช้กับผู้เรียนที่เป็นผู้ใหญ่ควรแตกต่างและแปรผันกันไป ในแต่ละโอกาสหรือสถานการณ์ของการสอน ครูสามารถเลือกใช้วิธีการสอนได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสม ตัวอย่างเช่น การสอนถึงปัญหาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย หรือบ้านพักในชุมชนใดชุมชนหนึ่ง ครูผู้สอนอาจจะใช้วิธีการบรรยายเกี่ยวกับเรื่องราวเหล่านั้น ประกอบกันการฉายภาพยนตร์ การอภิปรายปัญหาต่างๆ จากสมาชิกภายในกลุ่ม รวมทั้งการจัดทัศนศึกษาประกอบ ครูที่ดีและมีความชำนาญการสอนจะสามารถเลือกใช้วิธีการต่างๆ ให้เป็นไปตามสถานการณ์และความต้องการของ ผู้เรียน เพราะว่าการทำเช่นนี้จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ และกระตุ้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมตลอดเวลา และเป็นไปตามความแตกต่างของบุคคลด้วย

11. ครูผู้สอนควรจะมีความรู้สึกทางด้านการเจริญงอกงาม นับว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อทัศนคติของครู ที่เขาควรยอมรับว่าประสบการณ์ในด้านการสอนนั้นช่วยทำให้เขามีโอกาสในการพัฒนาตัวเอง ถ้าหากครูคิดว่าตัวเขาเป็นเสมือนผู้เรียนคนหนึ่งด้วยแล้ว ปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อ ผู้เรียนจะเป็นการกระตุ้นได้มากกว่า การที่เขามีความคิดว่าตัวเองมีความรู้ดีที่สุด นอกจากนั้นแล้วทัศนคติของครูยังเป็นพลังที่เข้มแข็งในการชี้ถึงบรรยากาศของกลุ่ม และทัศนคติของผู้เรียนด้วย

12. ครูผู้สอนควรจะมีแผนงานที่ยืดหยุ่นได้ เกี่ยวกับการสอนซึ่งจะช่วยให้ทั้งครูและ ผู้เรียนได้มีแนวความคิดที่เด่นชัดว่าเขากำลังทำอะไรอยู่ และจะทำอะไรต่อไป ถ้าหากสามารถเปลี่ยนแปลงการสอนได้ โดยเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มที่ตกลงร่วมกัน ซึ่งไม่ควรกำหนดจะไม่ตายตัว และแผนการสอนนั้นๆ อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม 

กลุ่มโดยสรุป
พัฒนาการและการเรียนรู้ในวัยผู้ใหญ่นั้น เป็นความรู้ที่มีความเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยตรง ซึ่งผู้เกี่ยวข้องกับการศึกษานอกโรงเรียน ทั้งผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และครูผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ต้องให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง ทั้งจิตวิทยาการพัฒนาการ จิตวิทยา ผู้ใหญ่ และทฤษฏีการเรียนรู้ มีความสำคัญอย่างมากในการที่จะทำให้การเรียนการสอนประสบผลสำเร็จ ซึ่งโนลส์ได้เสนอไว้แล้วคือ ความต้องการและความสนใจ สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตผู้ใหญ่ การวิเคราะห์จากประสบการณ์ การที่ผู้ใหญ่ต้องการเป็นผู้นำตนเอง ตลอดจนความแตกต่างระหว่างบุคคล สาระสำคัญจากทฤษฏีนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับ ผู้ใหญ่ ได้นำไปประยุกต์กับเทคนิคการสอนผู้ใหญ่ และสิ่งสำคัญที่ไม่ควรจะลืม คือ ครูผู้สอน ผู้ใหญ่ควรจะทำหน้าที่เป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้เท่านั้น

http://www.northnfe.blogspot.com

การคิดเป็นเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมไทย

“การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข” 

เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา 


การ"คิดเป็น"เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมไทย "คิดเป็น มาจากแนวคิดที่ว่า ธรรมชาติของมนุษย์ ทุกคนต้องการความสุข คนคิดเป็นจะสามารถดำรงชีวิต ให้พบความสุขได้" 

มนุษย์มีจิตสำนึกที่จะใคร่ครวญ และแสวงหารากเหง้าที่มาของปัญหาและความทุกข์ และพิจารณาทางเลือก และหาคำตอบต่างๆ เพื่อจะได้ตัดสินใจกระทำการหรือไม่ ในการแสวงหาคำตอบแทนที่จะยอมจำนนต่อปัญหา หรือโชคชะตา โดยกระบวนการที่จะพัฒนาการคิดเป็นให้กับบุคคลตามทฤษฎีการ "คิดเป็น" ซึ่งจะเป็น กระบวนการตัด และตัดสินใจแก้ไขปัญหาด้วยข้อมูล 3 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลตนเอง ข้อมูลสังคมสิ่งแวดล้อม และข้อมูลวิชาการ มาประกอบการตัดสินใจ 

กระบวนการคิดเป็น จึงเป็นเป็นการทำให้บุคคลได้เข้าใจตนเองอย่างถ่องแท้ว่า ตนเองเป็นใคร และอะไรคือสิ่งที่ตนเองต้องการ รวมทั้งการเข้าใจสภาพสังคมสิ่งแวดล้อมที่ตนเองดำรงชีวิต และสามารถนำข้อมูลวิชาการที่มีอยู่มาประกอบการคิดและตัดสินใจ โดยวิเคราะห์ วิจารณ์อย่างเป็นระบบ ภายใต้หลักการ เหตุผล หลักคุณธรรม จริยธรรม ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติจนเกิดความพึงพอใจ เป็นบุคคลที่มีพฤติกรรมคิดเป็น เป็นคนดี คนเก่ง และพบกับความสุขได้ในที่สุด ศาสตราจารย์ อุ่นตา นพคุณ ได้สรุปความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับ การคิดเป็น มี 4 ประการ ที่จะทำให้เกิดความเข้าใจกระบวนการคิดเป็นได้อย่างชัดเจน คือ 
  • ประการที่ 1 มนุษย์ทุกคนต้องการความสุข
  • ประการที่ 2 การใช้ข้อมูล 3 ประเภท พร้อมกันประกอบการคิดแก้ไขปัญหา
  • ประการที่ 3 เป็นการคิดเพื่อการตัดสินใจแก้ไขปัญหา
  • ประการที่ 4 มนุษย์มีเสรีภาพในการตัดสินใจกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง

คิดเป็น จึงเป็นกระบวนการที่จะทำให้มนุษย์กำหนดปรัชญาในการดำรง ชีวิตของตนเองในแต่ละด้านว่า ตนเองเป็นใคร ควรทำอะไร ทำทำไม ทำอย่างไร ทำเพื่อใคร ซึ่งทั้งหมดต้องเป็นสิ่งที่ตนเองต้องการ และนำกระบวนการคิดเป็นนั้นไปสู่ปรัชญาที่กำหนดให้สำเร็จ และในที่สุดก็จะสามารถนำพาชีวิตไปถึงเป้าหมายสูงสุด คือ ความสุข ซึ่งเป็นปรัชญาชั้นสูงสุดในการดำรงชีวิตมนุษย์ที่จะทำให้สามารถดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพได้ 


ความเชื้อพื้นฐานเกี่ยวกับ "การคิดเป็น" 
  1. มนุษย์ทุกคนต้องการความสุข ข้อตกลงเบื้องต้นของการ "คิดเป็น" คือ มนุษย์ทุกคนต้องการความสุข คือ เชื่อว่าคนเราจะมีความสุข เมื่อคนเราและสังคมสิ่งแวดล้อม ประสมกลมกลืนกันอย่างราบรื่นทั้งทางวัตถุ กาย ใจ และมนุษย์จะไม่มีความสุขเมื่อมีปัญหา ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อเกิดช่องว่างระหว่างสภาพการณ์และสิ่งที่เขามีอยู่จริง ปัญหาในช่วงชีวิตมนุษย์แต่ละคนเป็นเรื่องสลับซับซ้อน และเกี่ยวโยงถึงปัจจัยต่าง ๆ การคิดที่ใช้ข้อมูลประกอบการคิดเพื่อแก้ไขปัญหา และเกิดความพึงพอใจ
  2. การคิดเป็น เป็นการคิดเพื่อแก้ปัญหา เนื่องจากการคิดมีจุดเริ่มที่ตัวปัญหา และพิจารณาไตร่ตรองถึงข้อมูล 3 ประการ คือ ข้อมูลตนเอง ข้อมูลสังคมสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ต่อจากนั้นก็ลงมือกระทำการ ถ้าหากกระทำการ ทำให้ปัญหาและไม่พอใจหายไป กระบวนการคิดจะยุติลง แต่ถ้าหากบุคคลยังรู้สึกไม่พอใจ ปัญหายังคงมีอยู่ ก็จะเริ่มกระบวนการคิดอีกครั้ง
  3. การใช้ข้อมูล 3 ประเภท พร้อมกันประกอบการแก้ปัญหา ตามแนวคิดเรื่องการคิดเป็น บุคคลที่จะถือว่าเป็นคนคิดเป็น จะต้องเป็นบุคคลที่ใช้ข้อมูล 3 ปรเภทไปพร้อมกันประกอบการตัดสินใจแก่ปัญหา การคิดที่อาศัยข้อมูลประเภทใดประเภทหนึ่งหรือสองประเภท ยังไม่ถือว่าบุคคลนั้นเป็นคนคิดเป็นได้สมบูรณ์แบบ
    ข้อมูล 3 ประเภท ได้แก่ 1) ข้อมูลตนเอง 2) ข้อมูลสังคมสิ่งแวดล้อม 3) ข้อมูลวิชาการ
    ข้อมูลตนเอง (Information of self)
    ข้อมูลประเภทตนเอง ถูกกำหนดขึ้นเพราะอิทธิพลทางศาสนา ปรัชญา และจิตวิทยา โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา ซึ่งได้สั่งสอนให้บุคคลพิจารณาและเฝ้ามองตนเอง และแก้ไขทุกข์ด้วยตนเอง มีอิทธิพลต่อการกำหนดข้อมูลประเภทนี้ การ "คิดเป็น" ซึ่งมีจุดมุ่งหมายต้องการให้บุคคลใช้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับตนเอง ได้แก่ ข้อมูลในเรื่องสถานภาพทางเศรษฐกิจ สถานภาพทางสังคม สุขภาพอนามัย ระดับการศึกษา ความรู้ ความถนัด ทักษะ วัย เพศ และอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลประเภทนี้ต้องการให้พิจารณาจุดอ่อน จุดแข็ง ข้อดี ข้อเสียของตนเองอย่างจริงจังก่อนการตัดสินใจกระทำสิ่งใด
    ข้อมูลสังคมและสิ่งแวดล้อม (Information on Society and Environment)
    ธรรมชาติมนุษย์เป็นสัตว์สังคมไม่ได้อยู่ตามลำพัง ข้อมูลประเภทนี้จึงถูกกำหนดขึ้นเพื่อให้บุคคลใช้ความนึกคิด คำนึงถึงสิ่งที่อยู่นอกกาย คำนึงถึงผู้อื่น ชุมชน ตลอดจนสภาพแวดล้อมสังคมส่วนรวม หากบุคคลใช้ข้อประเภทตนเองอย่างเดียวก็จะเป็นคนเห็นแก่ตัว และเป็นคนใจแคบ ดังนั้นอิทธิพลของสังคมและสิ่งแวดล้อมจึงมีผลกระทบต่อมนุษย์เสมอ สิ่งแวดล้อมของมนุษย์ประกอบด้วยปัจจัยที่แตกต่างกัน แต่ก็ส่งผลกระทบชีวิตมนุษย์ทุกคน และในทางกลับกัน การกระทำของมนุษย์ก็ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมของตัวมนุษย์ด้วย ข้อมูลสังคมสิ่งแวดล้อม อาจแยกได้เป็นข้อมูลสังคมและจิตใจ เช่น พฤติกรรมของมนุษย์ในการอยู่ในสังคมด้วยความถูกต้อง เหมาะสม และข้อมูลกายภาพ เช่น ภูมิอากาศ ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น
    ข้อมูลวิชาการ (Technical or Book Knowledge)
    ในความหมายของการคิดเป็น หมายถึง ข้อมูลและความรู้อันมหาศาลที่มนุษย์เราได้สะสมรวบรวมไว้เป็นเนื้อหาวิชาต่าง ๆ เป็นหลักสูตร เป็นศาสตร์ แนวคิดเรื่องการคิดเป็น ตระหนักว่า บุคคลนั้นถึงแม้ว่าจะเข้าใจตนเอง เข้าใจสังคมสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดีก็ตาม แต่ถ้าขาดข้อมูลทาวิชาการไป อาจจะเสียเปรียบผู้อื่นในการดำรงชีวิตและ การแก้ปัญหา เพราะว่าในปัจจุบันนี้โลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มนุษย์และสังคมถูกเปลี่ยนเพราะความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ ดังนั้นมนุษย์จำเป็นที่จะต้องได้รับความรู้และข้อมูลทางวิชาการ มาใช้ประกอบการตัดสินใจเพื่อให้ได้คำตอบที่ดีที่สุดในการดำรงชีวิต จากความเชื่อพื้นฐาน เรื่องการใช้ข้อมูล 3 ประเภทพร้อมกันประกอบการตัดสินใจแก้ปัญหา เป็นลักษณะเด่นของเรื่อง "คิดเป็น" การกำหนดให้ใช้ข้อมูลประเภทต่าง ๆ วิเคราะห์และหาหนทางแก้ปัญหา และเพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลใช้ข้อมูลพิจารณาปัญหาจากจุดยืนหรือมิติเดียว
  4. เสรีและอำนาจการตัดสินใจกำหนดชะตาชีวิตตนเอง ความเชื่อพื้นฐานข้อนี้มาจากคำสั่งสอนของพุทธศาสตร์โดยตรง และปรัชญาการศึกษาสำนักมนุษยนิยม คือพุทธศาสนา สอนว่า ปัญหาหรือความทุกข์ของมนุษย์เกิดขึ้นตามกระบวนการแห่งเหตุผล และทุกข์หรือปัญหาของมนุษย์เป็นสิ่งที่แก้ไขได้ พร้อมทั้งได้ให้วิธีแก้ไขด้วย อริยสัจ 4

กล่าวโดยสรุป ความเชื่อพื้นฐานของการ "คิดเป็น" มาจากธรรมชาติของมนุษย์ที่ว่าสิ่งที่เป็นยอด ปรารถนา คือ ความสุข และมนุษย์เราจะมีความสุขที่สุดเมื่อตนเอง และสังคม สิ่งแวดล้อม กลมกลืนกันอย่างราบรื่น ทั้งด้านวัตถุ กาย และใจ การที่มนุษย์เรากระทำได้ยากนั้น แต่อาจทำให้ตนเอง และสิ่งแวดล้อมประสมกลมกลืนกันได้เท่าที่แต่ละคน หรือกลุ่มคนจะสามารถทำได้ โดยกระทำดังต่อไปนี้ 
  1. ปรับปรุงตัวเองให้เข้ากับสังคมสิ่งแวดล้อม
  2. ปรับสังคมและสิ่งแวดล้อมให้เข้ากับตัวเรา
  3. ปรับปรุงทั้งตัวเราและสังคมสิ่งแวดล้อม ทั้งสองด้านให้ประสมกลมกลืนกัน
  4. หลีกสังคมและสิ่งแวดล้อมหนึ่ง ไปสู่สังคมสิ่งแวดล้อมหนึ่งที่เหมาะสมกับตน
บุคคลที่จะสามารถดำเนินการข้อใดข้อหนึ่ง หรือหลายข้อเพื่อตนเองและสังคมสิ่งแวดล้อมประสมกลมกลืนกัน เพื่อตนเองจะได้มีความสุขนั้น บุคคลผู้นั้นต้อง "คิดเป็น" เพราะการคิดเป็นการทำให้บุคคลสามารถแก้ไขปัญหาได้ บุคคลที่มีแต่ความจำ ย่อมไม่สามารถดำเนินการตามข้อใดข้อหนึ่งใน 4 ข้อได้ คนที่ทำเช่นนี้ได้ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถคิดแก้ปัญหา สามารถรู้จักตนเองอย่างถ่องแท้ และรู้จักธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในสังคมนั้น 

การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จะสามารถช่วยพัฒนาการคิดเป็นให้เกิดขึ้นได้ โดยครูควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิด ตัดสินใจ และลงมือปฏิบัติจริงในกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งจะให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และเกิดกระบวนการคิด โดยการคิดนั้นควรส่งเสริมการใช้เหตุผล หลักคุณธรรมเป็นสำคัญ เพื่อให้รู้ว่าเขาเป็นใคร ทำอะไร จะทำอย่างไร ทำเพื่ออะไร จะได้ผลอย่างไร ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวครูสามารถนำกระบวนการ "คิดเป็น" ซึ่งเป็นกระบวนการคิดที่มีการรวบรวมข้อมูลด้านต่าง ๆ ให้ครบก่อนการตัดสินใจ จึงน่าจะเป็นกระบวนการคิดที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในยุคข่าวสารข้อมูลได้เป็นอย่างดี

นักเรียนเป็นหัวใจของการศึกษา


            “การศึกษาคือกระบวนการที่ทำให้คนและสังคมเจริญงอกงาม ยิ่งเรียนยิ่งขยัน ยิ่งเรียนยิ่งอดทน ยิ่งเรียนยิ่งซื่อสัตย์ ยิ่งเรียนยิ่งมีความกตัญญู ยิ่งเรียนยิ่งรักปู่ย่าตายาย ดูแลปู่ย่าตายาย ไปไหนก็ดูแลซึ่งกันและกัน บ้านเมืองก็จะมีแต่ความสุข” 

เนื้อหาในส่วนนี้ได้รวบรวมสาระ แนวคิด บทความของท่าน ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ ที่เป็นผู้ให้นิยาม คำว่า คิดเป็น"กระบวนการคิดเพื่อตัดสินใจ" โดยใช้ข้อมูล 3 ด้าน คือ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลทาง สังคมหรือสิ่งแวดล้อม และข้อมูลทางวิชาการ ปรัชญา "คิดเป็น" มีรายละเอียดและสาระที่น่าศึกษา 

นักเรียนเป็นหัวใจของการจัดการศึกษา 

"เราสอนเด็กให้เป็นนักเรียนดีได้เราก็อิ่มเอิบใจ แต่จริงแล้วเราควรจะอิ่มเอิบใจไปกว่านั้นเหมือนเราปลูกต้นไทรแผ่ร่มเงา วันหนึ่งตอนเที่ยงเราออกไปยืนอยู่ใต้ต้นไทรของเราเพื่อพักร้อน เราก็ชื่นใจที่ร่มเงาของต้นไทรที่เราปลูกสามารถให้คนมาพักอาศัยได้ และคนที่มายืนอยู่ใต้ต้นไทรหรือนกกาคาบลูกไทรไปเป็นต้นไทร แผ่ร่มเงาให้คนได้อาศัยพักร่มเงาอีกต่อไป เหมือนกับเราทำความดี 
มันจะกระเพื่อมออกไปอีกเรื่อยๆไม่มีวันจบสิ้น"

"เยาวชนกำลังมีไฟ กำลังมีแรง กำลังมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กำลังต้องการจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาครอบครัว และบ้านเมืองการให้เรียนแต่วิชาหนังสือ โดยไม่ให้ทำงานเป็นการ บอนไซเยาวชน" 

การสอนที่ดีคือ ... การท้าทายให้เด็กกระเสือกกระสนหาความรู้ ครูไม่จำเป็นต้องเหนื่อยมากเหมือนสมัยก่อน ... ถ้าครูท้าทายเด็ก เช่น ถามว่าต้นไม้นี่มันแพร่พันธุ์ได้กี่วิธี วิธีอะไรบ้าง ทำอย่างไร โดยให้ ไปหาคำตอบ อาจจะไปหาความรู้จากห้องสมุด อาจจะไปทำจริงๆ อาจไปสังเกต ไปสอบถามความรู้ หากเด็กได้พยายามทำจริง ไปขวนขวายหาความรู้ให้ได้มา ความรู้นั้นจะซึมลึกอยู่ในตัว เป็นเลือดเป็นเนื้ออยู่ในตัว 
เราก็เห็นใจครู ... เพราะค่านิยมของสังคมให้สอนวิชาหนังสือ เพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้เรียนต่อได้ การถูกสอนอย่างนี้ทำให้นักเรียนรู้ผิวๆ นำไปใช้จริงได้ยาก"

วันจันทร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง


ข้อมูลพื้นฐาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง

ผืนป่าขนาดใหญ่ในตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เป็นป่าต้นน้ำแควใหญ่ชื่อว่า “ลำห้วยขาแข้ง” พาดผ่านผืนป่าใหญ่ ขึ้นสู่ป่าแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ และเนื่องจากป่าแห่งนี้เป็นป่ารกทึบ ยังไม่มีผู้บุกรุกทำลายป่า จึงเรียกกันว่า ป่าบริสุทธิ์ (virginforest) คือ ป่าที่ยังไม่มีการจัดการทางด้านป่าไม้มาก่อน จนปี พ.ศ. 2498 จึงได้จัดให้เป็นป่าโครงการ โดยให้สัมปทานการทำไม้แก่บริษัทไม้อัดไทย ตามสัญญาสัมปทานที่ 84 เป็นป่าสัมปทานปิด ในปี พ.ศ.2506 กรมป่าไม้ก็ได้จัดการป่านี้เป็นป่าสัมปทาน เพื่อการทำไม้ออก แต่เนื่องจากป่าในท้องที่นี้ได้ประกาศเป็นป่าปิดด้วยเหตุผลทางการเมือง จึงมิได้มีการอนุญาตให้ทำไม้ ต่อมาทางราชการได้ยกเลิกการทำไม้แบบเก่ามีการปรับปรุงวางโครงการใหม่   เป็นการให้สัมปทานระยะยาวแก่ บริษัท ไม้อัดไทย จำกัด อีกครั้งหนึ่ง ครอบคลุมป่าโครงการห้วยทับเสลา – ห้วยขาแข้ง มีกำหนดระยะเวลา 30 ปีนับตั้งแต่ วันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ.2513  โดยแบ่งป่าโครงการดังกล่าวเป็น 10 ตอน แต่ละตอนมี 3 แปลงตัดฟันให้ตัดฟันไม้แปลงละ 1 ปี พื้นที่ลุ่มน้ำห้วยขาแข้ง ส่วนใหญ่ได้ถูกกันไว้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ต่อมาวันที่ 29 สิงหาคม 2508 ได้มีการแพร่ภาพทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 4 เรื่องการสำรวจควายป่า ของนักหนังสือพิมพ์คนหนึ่งที่เข้าร่วมสำรวจป่ากับเจ้าหน้าที่ป่าไม้และเจ้าหน้าที่ บริษัทไม้อัดไทย จำกัด หลังจากแพร่ภาพได้มีการส่งรายงานการสำรวจให้แก่กรมป่าไม้ โดยรายงานว่าสัตว์ป่าในห้วยขาแข้งนับได้ว่ามีจำนวนและมีปริมาณมาก จึงได้มีการดำเนินการและเตรียมการจัดตั้งให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า  ต่อมาทางกรมป่าไม้เห็นว่า พื้นที่ป่าสัมปทานที่อยู่ติดกับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง    บางส่วนเป็นบริเวณที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากและเป็นพื้นที่เขาสูงยากต่อการทำไม้ โดยเฉพาะพื้นที่ในแปลงสัมปทานในลุ่มน้ำลำห้วยทับเสลา และพื้นที่ทางตอนใต้ของลุ่มน้ำลำห้วยขาแข้ง โดยประสานงานกับ บริษัทไม้อัดไทย จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานทำไม้บริเวณดังกล่าว เพื่อให้ยกเลิกสัมปทาน  เนื่องจากรัฐบาลโดยกรมป่าไม้เห็นว่าพื้นที่ลุ่มน้ำตอนบนของ ลำห้วยขาแข้ง และลำห้วยทับเสลามีสภาพป่าสมบูรณ์และสัตว์ป่าชุกชุม ประกอบกับเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าที่หายากหลายชนิด เช่น สมเสร็จ เลียงผา กระซู่ เนื้อทราย เก้งหม้อ ควายป่า ละอง และแมวลายหินอ่อน ดังนั้น ในปี พ.ศ.2529 จึงได้มี พระราชกฤษฎีกาขยายเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ในท้องที่ตำบลระบำ ตำบลป่าอ้อ
อำเภอลานสัก ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต นอกจากนี้พื้นที่ลุ่มน้ำลำห้วยขาแข้งและลำห้วยทับเสลาตอนบน ยังเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญของแม่น้ำแม่กลองและแม่น้ำสะแกกรัง ซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อการเกษตรและเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ ของชาติด้วย รัฐบาลจึงมีนโยบายอนุรักษ์พื้นที่นี้ไว้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานีได้เสนอกรมป่าไม้ขอให้ดำเนินการสงวนป่าผืนนี้ ซึ่งกรมป่าไม้ได้พิจารณาเห็นว่า เป็นป่ารกทึบยังไม่มีผู้บุกรุกทำลาย และมีอาณาเขตกว้างขวางมาก (ราว 1,600 ตารางกิโลเมตร) จึงสมควรดำเนินการคุ้มครองไว้ก่อน ต่อมาหนังสือพิมพ์สารเสรี ฉบับประจำวันที่ 8 พฤษภาคม 2507 ได้ลงข่าวเกี่ยวกับการตรวจราชการท้องที่ ตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ ของป่าไม้ จังหวัดอุทัยธานี ตรวจพบชาวกะเหรี่ยงบ้านใหม่แผ้วถางป่าจำนวน 200 ไร่ กับบริเวณอีมาด ห้วยขาแข้ง ซึ่งอยู่ในโครงการที่จะกำหนดให้เป็นป่าคุ้มครอง มีเนื้อที่ 2,100 ตารางกิโลเมตร จึงทำรายงานเสนอไปยังกรมป่าไม้ ซึ่งกรมป่าไม้ได้เห็นพ้องต้องกัน ประกอบกับได้จัดให้ป่าแห่งนี้อยู่ในโครงการที่จะจัดตั้ง เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งไว้ก่อน จึงเห็นสมควรพิจารณาจัดตั้งให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าต่อไป กรมป่าไม้จึงได้เข้าไปดำเนินการ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2508 โดยส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจเบื้องต้น เพื่อหาความเหมาะสมในการจัดให้เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แต่การดำเนินงานในระยะแรก ๆ ได้ประสบอุปสรรคต่าง ๆ หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องงบประมาณและอัตรากำลัง จึงทำให้การดำเนินงานไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2515 เมื่อนโยบายของกรมป่าไม้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับได้รับงบประมาณสำหรับดำเนินการโดยเฉพาะ จึงได้มีการดำเนินงานอย่างจริงจังด้วยการออกพระราชกฤษฎีกา โดยกำหนดให้ป่าห้วยขาแข้งในท้องที่ตำบลแม่ละมุ้ง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก และอำเภอลานสัก ตำบลคอกควาย และตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี เป็นเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 210 ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2515 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 89 ตอนที่ 132 ลงวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2515 เป็นแห่งที่ 5 ของประเทศไทย มีพื้นที่รับผิดชอบในขณะนั้น ประมาณ 1,019,375 ไร่ (1,631 ตารางกิโลเมตร) ต่อมา ในปี พ.ศ. 2529 ได้มีการผนวกพื้นที่เพิ่มเติมทางด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ รวมเป็นเนื้อที่ทั้งหมด 1,609,050 ไร่ หรือ 2,574.64 ตารางกิโลเมตร
          จากการที่ได้มีการประกาศพื้นที่อนุรักษ์เป็นจำนวนมากไปแล้วนั้น สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องมีแผนการจัดการหลักที่เหมาะสม สำหรับการบริหารพื้นที่อนุรักษ์ทุกแห่งในประเทศ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งก็ได้ถูกจัดไว้เป็นอันดับแรก ซึ่งได้ถูกบรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 ภายหลังจากที่ได้มีการจัดทำแผนแม่บท การจัดการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ภายในแผนแม่บทได้บรรจุแผนการพัฒนาพื้นที่ป่ากันชนไว้ด้วย โดยให้มีการผนวกพื้นที่ฝั่งขวาตอนบนของลำห้วยทับเสลา และพื้นที่ลุ่มลำห้วยสองทางเข้ากับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง กรมป่าไม้จึงส่งเจ้าหน้าที่ออกไปทำการสำรวจสภาพพื้นที่บริเวณดังกล่าว เพื่อหาความเหมาะสมและกำหนดแนวเขตให้แน่ชัด ปรากฏว่าพื้นที่ที่เหมาะสม ที่จะผนวกเข้ากับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง คือ พื้นที่บริเวณเขาแม่กะสี (ฝั่งขวาตอนบนของลำห้วยทับเสลา) บริเวณหุบเขานางรำ (ลุ่มลำห้วยสองทาง) และในท้องที่ตำบลระบำ อำเภอลานสัก และตำบลคอกควาย อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี มีเนื้อที่เพิ่มอีกประมาณ 128,437 ไร่ (163.64 ตารางกิโลเมตร)

          ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2535 ได้มีการประกาศผนวกพื้นที่เพิ่มเติมอีกครั้ง ในส่วนตอนเหนือและฝั่งตะวันออก จึงทำให้ปัจจุบันเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลระบำ ตำบลป่าอ้อ อำเภอลานสัก ตำบลทองหลาง อำเภอห้วยคต และตำบลคอกควาย ตำบลแก่นมะกรูด อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี และบางส่วนครอบคลุมพื้นที่ ตำบลแม่ละมุ้ง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก รวมมีพื้นที่ทั้งหมด 1,737,587 ไร่ (2,780.14 ตารางกิโลเมตร)


สัตว์ป่า



สัตว์ป่า

           ห้วยขาแข้งตั้งอยู่ในเขตที่เป็นรอยต่อของภูมิศาสตร์ 4 ภูมิภาคของเอเชีย คือ ภูมิภาคอินโด – หิมาลายัน (Indo – Himalayan) อินโด-เบอร์มิส (Indo – Bumese) อินโด-จีน (Indo – Chainese) และซุนดาอิค (Sudaic) จึงเป็นศูนย์รวมของพรรณพืชและพันธุ์สัตว์ ทั้งถิ่นที่อยู่และแหล่งอาหารจึงมีความหลากหลาย จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูล สามารถแบ่งสัตว์ป่าในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ ดังนี้



สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
  จากการสำรวจและการตรวจสอบเอกสารต่างๆ พบว่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งนี้มีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอยู่ถึง 130 ชนิดพันธุ์ ซึ่งในจำนวนนี้จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 อยู่ถึง 5 ชนิด ได้แก่ ควายป่า สมเสร็จ เลียงผา เก้งหม้อ และแมวลายหินอ่อนะเสถียร

 สัตว์ปีกและนก
          เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จัดได้ว่าเป็นแหล่งที่พบนกมากแห่งหนึ่งทางภาคพื้นเอเชีย จากการสำรวจและรวบรวมเอกสารพบว่า มีอยู่ถึง 412 ชนิดพันธุ์ ซึ่งมากกว่าหนึ่งในสามของนกทั้งหมดที่ค้นพบแล้วในประเทศไทย โดยพบนกที่ใกล้จะสูญพันธุ์ที่ขึ้นในบัญชี Red Data Book ซึ่งเป็นข้อมูลรวบรวมใน International Birds Areas (IBA) จำนวน 11 ชนิด คือ นกกระทุง นกฟินฟุท นกตระกรามเหยี่ยวเล็กตะโพกขาว นกพรานผึ้ง นกเค้าหน้าผากขาว นกเงือกกรามช้างปากเรียบ นกเงือกคอแดง นกจับแมลงอกสีน้ำตาลอ่อน นกยูง และนกขมิ้นขาว ในจำนวนนกที่ปรากฏในบัญชีรายชื่อนกป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ หลายชนิดจัดได้ว่าเป็นนกที่ถูกบีบคั้นจากมนุษย์จนกลายเป็นนกที่กำลังจะสูญพันธุ์ เช่น เหยี่ยวทุ่ง เหยี่ยวรุ้ง พญาแร้ง นกเค้าเหยี่ยว นกเค้ากู่ นกเงือกกรามช้าง นกเงือกคอแดง นกแก๊ก นกกก นกหัวขวาน เป็นต้น ส่วนนกยูงจัดว่าเป็นสัตว์ป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์



เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จัดได้ว่าเป็นแหล่งพักของนกที่โยกย้ายถิ่นหลายชนิดด้วยกัน ในช่วงที่เขตอบอุ่นและเขตหนาวในซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาวนับจากเดือนพฤศจิกายน ไปจนถึงเดือนมีนาคม นกเล็ก ๆ หลายชนิดได้โยกย้ายถิ่นลงมาหากินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแห่งนี้ ที่สำรวจพบเช่น นกกระเต็นหัวดำ นกอุ้มบาตร นกเด้าลม นกอีวาบตั๊กแตน นกเด้าดิน เป็นต้น

สัตว์เลื้อยคลาน
           เนื่องจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มีพื้นที่กว้างใหญ่ และมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่อนุรักษ์อื่นๆ โดยรอบ และลักษณะภูมิประเทศที่มีความแตกต่างกันภายในพื้นที่ ทำให้เป็นที่รวมของสัตว์เลื้อยคลาน หลายชนิด จากการสำรวจที่ผ่านมาพบแล้ว 81 ชนิด เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่ไม่เคยพบในประเทศไทยมาก่อน 3 ชนิด ได้แก่ เต่าห้วยดำ ตุ๊กแกทะวาย และจิ้งเหลนภูเขาอินเดีย สำหรับสัตว์เลื้อยคลานที่หายาก และชนิดที่ถูกทำลายจนกำลังจะกลายเป็นสัตว์ป่าที่กำลังสูญพันธุ์ไป แต่พบในพื้นที่ ได้แก่ กิ้งก่าเขาหนามยาว กิ้งก่าหัวสีฟ้า กิ้งก่าแก้ว เต่าหก เต่าเดือย ตุ๊กแกบินหางหยัก ตะกวด และตะพาบแก้มแดง นอกจากนี้ยังมีสัตว์จำพวกงู ได้แก่ งูจงอาง งูเหลือม งูหางมะพร้าว ซึ่งสัตว์ป่าเหล่านี้จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535



สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
            จากการสำรวจและรวบรวม พบว่ามีสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกจำนวน 37 ชนิด ซึ่งมีหลายชนิดที่สำคัญ และกำลังจะถูกทำลายจนกลายเป็นสัตว์ป่าที่กำลังจะสูญพันธุ์ ได้แก่ จงโคร่งและกบทูด นอกจากนี้ยังมีชนิดที่สำคัญเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 อีก 2 ชนิด ได้แก่ คางคกแคระ และคางคกหัวเดือย

ปลาน้ำจืด
           จากการสำรวจปรากฏว่าพื้นที่แห่งนี้มีปลาน้ำจืด อยู่ถึง 105 ชนิด โดยมีชนิดที่ยังไม่มีรายงานพบในประเทศไทยอยู่ 9 ชนิด ปลาหลายชนิดจัดเป็นปลาที่หายากในแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น ปลาสลาด ปลาเค้า ปลาเลียหิน จากการสำรวจมีชนิดพันธุ์ปลาอย่างน้อย 8 ชนิด เป็นปลาชนิดใหม่ในลุ่มน้ำแม่กลอง ได้แก่ ปลาใน สกุล Acantopsis 1 ชนิด สกุล Cavasius อีก 1 ชนิด








วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ป่าห้วยขาแข้ง

ป่าห้วยขาแข้ง
   พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง เป็นแหล่งของพรรณไม้ถึง 3 ภูมิพฤกษ์ คือ ภูมิพฤกษ์ Indo-China ภูมิพฤกษ์ Indo-Malaya และภูมิพฤกษ์ Indo-Burma






          สังคมพืชเด่นของพื้นที่ ได้แก่ สังคมป่าผลัดใบ สังคมป่าดงดิบเขา สังคมป่าดงดิบชื้น สังคมป่าดงดิบแล้ง สังคมป่าเต็งรัง และสังคมป่าไผ่ นอกจากสังคมหลักดังกล่าวแล้วยังมีสังคมพืชย่อยที่น่าสนใจอีกหลายชนิด เช่น สังคมผาหิน กลุ่มไม้สนเขา สังคมดอนทรายริมลำน้ำ และสังคมป่าแคระที่ผ่านการทำลายมาก่อน ลักษณะที่สำคัญของแต่ละสังคมพืช มีดังนี้
          เป็นสังคมพืชที่กระจายในระดับสูง พบในพื้นที่ที่มีความสูงตั้งแต่ 1,000 - 1,554 เมตร จากระดับน้ำทะเล เช่น บริเวณยอดเขาปลายห้วยขาแข้ง บริเวณเทือกเขาเขียว เทือกเขาใหญ่และเทือกเขาน้ำเย็น ป่าชนิดนี้มีอยู่ประมาณ 235,156.25 ไร่ (376.25 ตารางกิโลเมตร) ปัจจัยอันเป็นตัวกำหนดสังคม (Limiting Factors) ได้แก่ ความหนาวเย็นและความชื้น อันเนื่องมาจากความสูง อุณหภูมิจึงค่อนข้างต่ำตลอดปี โดยปกติอุณหภูมิจะไม่เกิน 20 องศาเซลเซียส
          โครงสร้างทางด้านที่ตั้งของป่าดงดิบเขา ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จะแปรผันไปตามลักษณะภูมิประเทศ บริเวณยอดเขาสูงที่รับลมจัด มักมีไม้ใหญ่ขึ้นอยู่ห่าง ๆ กัน ความสูงไม่เกิน 10 เมตร บริเวณพื้นดินมีหญ้าและพืชล้มลุกปกคลุมหนาแน่น บริเวณหุบเขาที่มีดินลึก โครงสร้างประกอบด้วยสี่ชั้น ได้แก่ ชั้นเรือนยอด มีความสูงถึง 35 เมตร พรรณไม้ที่สำคัญ ได้แก่ วงศ์ไม้ก่อ เช่น ก่อเดือย ก่อหนาม ก่อนก ก่อใบเลื่อม ฯ เรือนยอดชั้นรองสูงประมาณ 15 - 20 เมตร พรรณไม้ที่สำคัญ ได้แก่ มะนาวควาย เหมือดเขา พลองดง ปอขี้แรด ฯ ชั้นไม้พุ่ม มีความสูงไม่เกิน 7 เมตร และชั้นคลุมดิน มีความสูงประมาณ 1 เมตร ซึ่งการแยกชั้นจะเด่นชัดเฉพาะชั้นคลุมดินเท่านั้น
          พบกระจายในระดับเดียวกันกับป่าดงดิบชื้น แต่ขึ้นอยู่ในดินที่มีความชื้นน้อยกว่า เช่น บนสันเขาหรือหุบห้วยแห้งที่มีน้ำเฉพาะฤดูฝน ดินค่อนข้างลึกเป็นดินร่วนปนทราย ทรายร่วน หรือดินทรายร่วนปนดินเหนียว พบในระดับสูง 400 - 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล พื้นที่ทั้งหมดของป่าชนิดนี้ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มีอยู่ประมาณ 88,593.75 ไร่ (461.75 ตารางกิโลเมตร) เทือกเขาด้านตะวันออก ด้านเหนือ และด้านตะวันตกของพื้นที่ ดินมีความเป็นกรดระดับปานกลาง
          ลักษณะโครงสร้างของสังคมประกอบด้วย เรือนยอด มีความสูงประมาณ 40 เมตร เรือนยอดชั้นรองแบ่งแยกได้ไม่เด่นชัดนัก มีไม้ในป่าผลัดใบขึ้นผสมอยู่ค่อนข้างมาก ไม้หลักที่ใช้ในการจำแนกในสังคมนี้ ได้แก่ ยางแดง สะเดาปัก ยางโอน บางพื้นที่อาจพบยางนา และตะเคียนทอง ขึ้นผสมอยู่ด้วย ไม้ชั้นรองที่ใช้ในการจำแนก ได้แก่ ค้างคาวดำ กัดลิ้น ลำไยป่า กระเบากลัก มะไฟป่า สะทิม และคอแลน ในบริเวณที่โล่งอันเนื่องมาจากไม้ล้ม จะพบกล้วยป่าขึ้นอย่างหนาแน่นผสมกับหญ้าและเฟิร์น โดยเฉพาะหญ้าลิเภา บริเวณริมลำห้วยชิดขอบน้ำจะมีผักกูด ผักหนาม และตะไคร่น้ำ ขึ้นค่อนข้างหนาแน่น 
          มีพื้นที่ครอบคลุมประมาณ 731,937.50 ไร่ พบในบริเวณสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 450 - 900 เมตร ปัจจัยกำหนดที่สำคัญ ได้แก่ ความลึกของดิน ช่วงความแห้งแล้งและระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล พืชพรรณไม้เกือบทั้งหมดในสังคมจะปลดใบทิ้งในช่วงเดือนธันวาคม และออกใบใหม่ในช่วงเดือนเมษายน พรรณไม้เด่น ได้แก่ มะค่าโมง สมพง อินทนิลบก ก้านเหลือง เสลา คูณ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีป่าไผ่ขึ้นผสมอยู่ด้วย
          เนื่องจากป่าชนิดนี้ค่อนข้างโปร่ง จึงมีเถาวัลย์ขนาดใหญ่ขึ้นผสมอยู่มาก ในฤดูฝนผืนป่าจะหนาแน่นไปด้วยลูกไม้และพืชล้มลุกผสมกับไม้พุ่มเตี้ย มีหญ้าปรากฏทั่วไปอย่างน้อย 11 ชนิด
          ป่าชนิดนี้มีอยู่ประมาณ 214,531.25 ไร่ (343.25 ตารางกิโลเมตร) พบในพื้นที่แห้งแล้ง ดินเก็บความชื้นได้ไม่นาน จึงปรากฏในที่ดินทรายจัด ดินตื้นและมีหินผสมอยู่มาก มีปรากฏในระดับความสูงตั้งแต่ 200 - 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล ไม้เด่นของสังคม ได้แก่ เต็ง รัง ยางเหียง ยางพลวง ยางกราด พุดป่า ตาลกรด และผักหวาน เป็นต้น
          นอกจากนี้ยังมีสังคมพืชในชั้นของการทดแทนที่ปรากฏอยู่หลายสังคมด้วยกัน เช่น สังคมผาหิน สังคมไร่ร้าง และสังคมดอนทรายริมลำห้ว


ความคิดเห็นจาก Facebook